top of page

5 จุดอ่อน SME ที่เจ้าของธุรกิจต้องระวัง พร้อมเทคนิคการป้องกันตัว



เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมธุรกิจ SME และสตาร์ทอัพ ของคุณถึงไม่สามารถพัฒนากิจการให้เติบโตและขยายออกไปได้ตามแผนธุรกิจที่วางไว้ ทั้งที่ช่วงเปิดตัวแรกๆ ก็ดูว่าไปได้ดี มีลูกค้ามากมาย ยอดขายกระฉูด แต่พอทำไปเรื่อยๆ ยอดขายเริ่มตก ลูกค้าเริ่มหาย ปรับเปลี่ยนความคิดวางกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่ก็ไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้นมา บางทีอาจเป็นเพราะว่าธุรกิจ SME ของคุณมีจุดอ่อนที่คุณมองไม่เห็นและไม่รู้ตัวว่าหลายสิ่งที่คุณทำกำลังทำลายธุรกิจของตัวเองอยู่ วันนี้ไดเร็คมันนี่ จึงรวบรวมจุดอ่อนและข้อผิดพลาดที่เจ้าของธุรกิจ SME ส่วนใหญ่มักคาดไม่ถึงมาฝากกัน


1. ยึดความชอบตัวเองเป็นหลัก

เจ้าของธุรกิจ SME หลายคนเลือกที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจโดยใช้ตัวเองเป็นหลัก ซึ่งการทำธุรกิจ (e-commerce) หรือผลิตสินค้าที่ใช้หลักความชอบของตัวเอง หรือเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้น ที่จริงแล้วเป็นหนึ่งในไอเดียการทำธุรกิจที่ดี แต่คุณต้องทำการบ้านเพิ่ม ด้วยการสำรวจความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายว่าสินค้าของคุณตอบโจทย์กลุ่มคนเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน พวกเขามีปัญหาในแบบเดียวกับคุณหรือไม่ และพวกเขาเลือกแก้ปัญหาโดยการใช้สินค้าของคุณมั้ย พูดง่ายๆ ก็คือ ตัวคุณสะท้อนกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ของสินค้าที่คุณขายหรือไม่ ถ้าหากคำตอบที่ได้คือ ไม่ใช่ ก็ไม่แปลกอะไร ที่สินค้าของคุณจะขายได้ไม่ดี มียอดขายไม่เยอะ


เทคนิคการป้องกันตัว : ปรับเปลี่ยนความคิดของตัวเอง ด้วยการคิดอยู่เสมอว่าสินค้าหรือบริการของคุณ ไม่ได้มีเพื่อตอบสนองความต้องการของคุณหรือกลุ่มเพื่อนของคุณเท่านั้น แต่นี่คือการทำธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นหลัก


2. ตั้งราคาผิดพลาด

การตั้งราคาเป็นหนึ่งข้อสำคัญในการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ เจ้าของธุรกิจ SME ส่วนมากมักกลัวว่าราคาขายที่ตั้งนั้นจะแพงเกินไป กลัวไปแข่งขันกับราคาของคู่แข่งในตลาดไม่ได้ จึงพยายามตั้งราคาให้อยู่ในระดับเดียวกัน หรือต่ำกว่าแบรนด์คู่แข่งเล็กน้อย เพราะทำให้เจ้าของกิจการรู้สึกว่าราคาที่ตั้งแข่งขันกับแบรนด์อื่นได้ทำให้ซื้อง่ายขายคล่อง หากต้นทุนสินค้าไม่ได้สูง อาจไม่ค่อยมีปัญหา เพราะยังมีส่วนต่างของผลกำไรให้เอาไปใช้ทำการตลาดได้ แต่หากเจ้าของกิจการเลือกทำสินค้าที่แตกต่างจากแบรนด์ในตลาด ด้วยการเน้นคุณภาพและภาพลักษณ์ที่ดีกว่า ก็อาจทำให้ต้นทุนสินค้าสูง หากยังตั้งราคาใกล้เคียงกับแบรนด์คู่แข่ง ผลกำไรที่ได้ก็จะน้อยลง ไม่เพียงพอที่จะใช้ทำการตลาดและการขายได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

เทคนิคการป้องกันตัว : ยอดขายไม่ได้เป็นสิ่งวัดความสำเร็จของธุรกิจ แต่ผลกำไรต่างหากที่ทำให้ธุรกิจ SME ของคุณเดินต่อไปได้ ตั้งราคาให้เหมาะสม ถึงแม้ว่าราคาของคุณอาจสูงกว่าคู่แข่ง แต่หากนำผลกำไรที่ได้มาสร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์ ชูจุดแข็งในเรื่องคุณภาพและการบริการ รับรองได้ว่าธุรกิจของคุณจะไปได้ไกลมากกว่าการมามัวตัดราคาแข่งกันขายถูกกว่าอย่างแน่นอน


3. ไม่รักษามาตรฐาน

ธุรกิจ SME หลายๆ เจ้า เมื่อขายดิบขายดีจนกิจการเริ่มเติบโต เจ้าของกิจการกลับไม่ใส่ใจที่จะรักษาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าหรือบริการ เช่น ธุรกิจร้านอาหารบางแห่ง ช่วงแรกเริ่มกิจการ คุณภาพของอาหารและการบริการดีเยี่ยมจนขายดีลูกค้าแน่นร้าน แต่เมื่อลูกค้าเยอะขึ้น ก็เริ่มมีปัญหาในเรื่องการจัดเวลาทำงานและจำนวนพนักงาน จนทำให้รับพ่อครัวที่ไม่มีฝีมือเข้ามาเพิ่ม หรือลดปริมาณอาหารในจานลงเพื่อหวังกำไรที่มากขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ลูกค้าไม่พอใจและเลิกเข้ามาอุดหนุนในที่สุด


เทคนิคการป้องกันตัว : เมื่อธุรกิจ SME ของคุณเริ่มเติบโต ต้องรู้จักวางแผนธุรกิจเพื่อรับมือกับการจัดการปัญหาด้านต่างๆ ให้รอบคอบมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัตถุดิบ เรื่องกำลังคน รวมไปถึงการบริการที่จะต้องคงมาตรฐานเดิมไว้ให้ได้ หากยังหาวิธีมารองรับการขยายตัวของธุรกิจไม่ได้ ก็ไม่ควรรีบเร่งขยายกิจการเพราะเมื่อชื่อเสียงเสียไปแล้ว การจะกู้กลับมาได้นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก


4. ไม่มองการณ์ไกล

เมื่อสินค้าหรือบริการออกสู่ตลาดได้สักระยะหนึ่งและได้ผลตอบรับที่ดีจากลูกค้า เจ้าของกิจการจำนวนไม่น้อย มักจะหลงประเด็นและคิดว่าสินค้าตัวเองดี มีลูกค้าชื่นชอบประทับใจ และคิดว่ากลยุทธ์หรือแผนธุรกิจที่ทำนั้นประสบความสำเร็จ จนโฟกัสที่จะขายสินค้าไปแค่กลุ่มเป้าหมายนี้เพียงกลุ่มเดียว จนละเลยที่จะพัฒนาตัวเอง ทั้งที่จริงๆ แล้วยังมีลูกค้าอีกเยอะมากที่ยังไม่ยังไม่รู้จัก และตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ คุณควรต้องมานั่งวิเคราะห์ว่าเพราะอะไร และจะสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจตรงไหนให้เข้าไปครองใจพวกเขาได้บ้าง หากอยากให้ธุรกิจ SME ของคุณเติบโตและประสบความสำเร็จต้องรู้จักมองการณ์ไกลและไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเอง


เทคนิคการป้องกันตัว : เจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จส่วนมากล้วนแต่มีคอนเนคชั่นที่ดีช่วยสนับสนุนในการดำเนินธุรกิจแทบทั้งนั้น ดังนั้นอย่ามัวอุดอู้อยู่แต่ในธุรกิจของตัวเอง คุณควรหาคอร์สฝึกอบรมหรือคอร์สพัฒนาตัวเอง ที่จะทำให้คุณได้พบปะกับเจ้าของธุรกิจในรูปแบบต่างๆ นอกจากจะทำให้คุณได้มุมมองและไอเดียดีๆ ในการทำธุรกิจกลับมาแล้ว อาจได้ลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์ดีๆ ในการทำธุรกิจ SME ให้เติบโตกลับมาด้วยก็ได้


5. ขาดการวางแผนงานที่ชัดเจน

จัดว่าเป็นปัญหาใหญ่ของธุรกิจ SME ที่มักพบเจอกันอยู่บ่อยๆ เพราะเจ้าของธุรกิจ SME มองว่าเป็นการทำธุรกิจขนาดเล็ก จึงมักทำธุรกิจแบบให้พออยู่รอดไปวันๆ ไม่มีการวางแผนรายปี รายไตรมาส รายเดือนว่าต้องทำอะไร หากเจอปัญหาวิกฤต ต้องทำอย่างไร ซึ่งตามหลักแล้วไม่ว่าธุรกิจไซส์เล็กหรือไซส์ใหญ่อย่างการขนส่งโลจิสติกส์ (logistics) การวางแผนธุรกิจเป็นสิ่งจำเป็นมาก หากต้องการให้ธุรกิจเราเดินหน้า และมียอดขายเติบโต การวางแผนงานที่ดีจะทำให้คุณรู้ว่ายอดขายที่เติบโตขึ้นนั้นมีที่มาจากไหนและเวลาที่ยอดขายตก คุณก็จะรู้ว่ายอดขายตกได้อย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณแก้ปัญหาต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างตรงจุดนั่นเอง


เทคนิคการป้องกันตัว : เจ้าของกิจการหลายคนเริ่มต้นธุรกิจ SME จากความรู้ ประสบการณ์และความถนัดเฉพาะทางที่มี ซึ่งต้องยอมรับว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นนักบริหารที่ดีได้ ดังนั้นคุณอาจเริ่มต้นด้วยการใช้บริการบริษัท Consult ต่างๆ ให้พวกเขาวางแผนธุรกิจให้ หรือลองเจียดเวลาและงบประมาณสักนิด มาเรียนรู้วางแผนทดลองตลาดเอง ศึกษาเรียนรู้จากการลงมือทำ ไม่ช้าไม่นานคุณก็สามารถตั้งเป้าหมายเองและไปต่อได้แล้ว

หากคุณมีปัญหาในเรื่องของงบการลงทุนเพื่อการต่อยอดธุรกิจ ไดเร็คมันนี่มีทีมงานและผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา โดยเรากำหนดให้การขอสินเชื่อเข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ใช้เอกสารน้อยไม่ยุ่งยาก ไม่เช็คเครดิตบูโรและหนี้เสียใดๆ เพียงท่านต้องการที่จะขยายหรือพัฒนาธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น ลองปรึกษาบริษัท ไดเร็คมันนี่ ซึ่งบริษัทของเรายื่นกู้ง่าย ได้เงินจริง ให้บริการด้วยความเต็มใจ และไม่มีการโอนเงินก่อน ปลอดภัย ไม่โกง! ต้อง Direct Money

#สินเชื่อเพื่อธุรกิจ #Commercial #Credit #สินเชื่อsme #วงเงินโอดี #ออนไลน์ #ผู้ผลิต #ผู้ประกอบการ #SME #ขนส่ง

Call center 095-538-7145

(Line@) @743ftmuz

www.directmoney-cash.com

bottom of page